วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใครจะรู้บ้างว่า Youtube เป็นแอพพลิเคชั่นของ Google



ยูทูบ(YouTube) เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวีดีโอผ่านทางเว็บไซต์ ก่อตั้งเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548โดย แชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชง และ ยาวีด คาริม อดีตพนักงานบริษัทเพย์พาล ในปัจจุบันยูทูบมีพนักงาน 67 คน และมีสำนักงานอยู่ที่ ซานบรูโนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิล
การทำงานของเว็บไซต์แสดงผลวีดีโอผ่านทางในลักษณะ อะโดบี แฟลช ซึ่งเนื้อหามีหลากหลายรวมถึง รายการโทรทัศน์มิวสิกวิดีโอ วีดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนจากภาพยนตร์ และผู้ใช้สามารถนำวีดีโอไปใส่ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ ผ่านทางคำสั่งที่กำหนดให้ของยูทูบ ยูทูบถือว่าเป็นหนึ่งในเว็บ 2.0 ชั้นนำของอันดับต้น ๆ ของโลก
ยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือย และคลิปที่มีลิขสิทธิ์นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง โดยผู้ใช้สามารถทำการแจ้งลบได้
ในวันที่ 9 ตุลาคม 2549 กูเกิลได้ประกาศซื้อบริษัทยูทูบเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และในวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ยูทูบ ได้เพิ่มโดเมนไปอีก 9 แห่ง สำหรับ 9 ประเทศ ได้แก่ บราซิลฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ โปแลนด์ สเปน ไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร

สาเหตุที่เลือก application นี้
- เป็นสื่อมัลติมีเดียแหล่งรวมคลิปวีดีโอที่ผู้คนทั่วโลกนิยมเล่นกัน

ขั้นตอนการเข้าใช้งาน
1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.youtube.com/
2. พิมพ์ชื่อหมวดหมู่ของคลิปที่ต้องการค้นหาในช่อง Search เช่น ตลก คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี ฯลฯ
3. จะมีรายการคลิปวีดีโอที่เราค้นหา อยากดูคลิปไหนก็สามารถคลิกเข้าไปดูได้เลย

ข้อดี
- เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวีดีโอผ่านทางเว็บไซต์ รวมถึงสามารถดูรายการโทรทัศน์ ละคร หรือ มิวสิกวีดีโอ ย้อนหลังได้

ข้อเสีย
- ถึงแม้ยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยแต่บางคลิปวีดีโอก็ยังมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

จุดเด่นของ application
- เป็นแหล่งรวมคลิปวีดีโอที่คนทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด
- ผู้ใช้สามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวีดีโอผ่านทางเว็บไซต์
- สามารถดูรายการโทรทัศน์ ละคร มิวสิกวีดีโอ ย้อนหลังได้

ตัวอย่าง application ที่คล้ายกัน
Clipmass
เป็นแหล่งรวมคลิปวีดีโอเหมือนกัน สามารถอัพโหลดวีดดีโอได้เหมือนกัน

ข้อแตกต่างระหว่าง Youtube กับ clipmass
Clipmass นั้นจะมีลูกเล่นมากกว่า นอกจากวีดีโอต่างๆแล้ว ยังมี ฟังเพลง ชมรม สกู๊ป บอร์ด ซึ่งยูทูปไม่มี
The End

By
Boom : อัครุวฒิ  สวัสดิ์ดีมงคล

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของภาพดิจิตอลขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้าง

ภาพดิจิตอล
                ภาพดิจิตอล หรือ
Raster Graphic คือ ภาพแบบดิจิตอลซึ่งสร้างขึ้นจากการเรียงตัวของจุดสี (Pixel) ด้วยโครงสร้างแบบตาราง จุดสีแต่ละจุดสามารถนำมาเข้ารหัสเพื่อแปลงเป็นจำนวนเต็มฐานสอง และนำมาใช้ประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ได้
คุณภาพของภาพจากกล้องดิจิตอลขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
1. ความละเอียด (Resolution)
คำว่า ความละเอียด หมายถึงจำนวนพิกเซล ทั้งหมดบนตัวรับภาพ ตัวอย่างเช่น 3.34 ล้านพิกเซล หรือ 2.1 ล้านพิกเซลเป็นต้น จำนวนพิกเซลของตัวรับภาพมีผลอย่างยิ่งต่อคุณภาพของภาพที่ได้ในด้านรายละเอียดและความคมชัด เนื่องจากกล้องที่มีจำนวนพิกเซลบนตัวรับแสงมากกว่าย่อมจะสามารถบันทึกรายละเอียดของภาพได้มากกว่า

ในปัจจุบันกล้องดิจิตอลสามารถจัดกลุ่มตามความละเอียดได้อยู่เป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับความละเอียดต่ำมาก กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ ไม่ถึง 3 แสนพิกเซล ที่พบเห็นกันทั่วไปคือ web camera หรือ toy camera
2 ระดับความละเอียดต่ำ กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ 3 แสน ถึง 1.5 ล้านพิกเซล
3. ระดับความละเอียดปานกลาง กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ 2.1- 4 ล้านพิกเซล
4. ระดับความละเอียดสูง กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซล มากกว่า 4 ล้านพิกเซล
การเลือกกล้องระดับใดนั้นให้ดูวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นหลัก กล่าวคือไม่ต้องการคุณภาพมากนัก แค่ส่งรูปภาพขนาดเล็กๆ ผ่านอีเมล์หรือโทรศัพท์มือถือ กล้องราคาถูกในราคาระดับไม่กี่พันบาทคงพอต่อการใช้งานแล้ว หากต้องการสร้างโฮมเพจด้วยควรเลือกที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยทั่วไปภาพที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตมักมีขนาดไม่เกิน 800x600 หรือประมาณ 5 แสนพิกเซลเท่านั้น กล้องระดับความละเอียดต่ำมีความสามารถเพียงพอที่จะให้คุณภาพดีได้ หากใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงมากๆ เราก็ต้องมาลดความละเอียดของภาพลงเพื่อให้ไฟล์ของภาพมีขนาดพอเหมาะที่จะนำเสนอบนจอภาพ และหากใช้ภาพขนาดใหญ่ ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ไปด้วยทำให้การ load ภาพมาดูทำได้ช้า หากต้องการนำภาพไปพิมพ์ควรใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง หรือปานกลางขึ้นกับว่าต้องการพิมพ์ให้ได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าใด
การคำนวณหาขนาดของภาพที่มีคุณภาพสูงสุดใกล้เคียงภาพถ่ายทั่วๆไป สามารถใช้สูตร ขนาดของภาพพิมพ์ = จำนวนพิกเซลบนแต่ละด้านของภาพต้นฉบับ / 300 หน่วยที่ได้เป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่นภาพต้นฉบับขนาด 800x600 พิกเซล เราจะพิมพ์ได้ขนาด (800/300) x (600/300) = 2.67 x 2 นิ้ว และถ้าภาพต้นฉบับมีขนาด 3000x2000 พิกเซล เราจะพิมพ์ได้ขนาด 10 x 6.67 นิ้ว อย่างไรก็ตามเราสามารถพิมพ์ภาพให้มีขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ได้ แต่คุณภาพจะเริ่มลดลงไปบ้าง ขึ้นกับเครื่องพิมพ์ที่ใช้ด้วยว่าใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ระบบใด หากพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เราอาจเพิ่มขนาดจากเกณฑ์ได้ไม่มากนัก โดยยังมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่พอยอมรับได้ แต่หากเป็นระบบระบบการพิมพ์พ่นหมึก หรืออิงค์เจ็ต(inkjet) เราจะสามารถพิมพ์ภาพขนาด 8x10 นิ้วได้จากต้นฉบับที่มีความละเอียด 3 ล้านพิกเซลและยังได้ภาพที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้นหากต้องการนำกล้องไปใช้เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ ขนาด A4 ควรใช้กล้องที่มีความละเอียด 6 ล้านพิกเซล แต่หากต้องการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตให้ได้ภาพขนาดโปสการ์ด 4x6 หรือสัก 5x7 นิ้ว กล้องที่มีความละเอียด 2-3 ล้านพิกเซลก็คงเพียงพอกับการใช้งานแล้ว หากต้องการภาพขนาด A4 ควรใช้กล้องที่มี รายละเอียดมากกว่า 4 ล้านพิกเซลขึ้นไป
2. เลนส์ (Lens)
กล้องดิจิตอลที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มักเป็นกล้องระดับมืออาชีพและมีราคาแพง ดังนั้นผมจะกล่าวถึงปัจจัยเรื่องเลนส์ของกล้องดิจิตอลในส่วนที่เป็นกล้องที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้เป็นหลัก โดยทั่วไปกล้องดิจิตอลมักมีเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Optical zoom) หรือที่เราเรียกกันว่าเลนส์ซูม กล้องที่มีเลนส์ซูมนั้นจะมีราคาสูงกว่ากล้องที่ไม่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้พอสมควร
กล้องดิจิตอลที่ผลิตมาส่วนใหญ่สามารถซูมได้ในช่วงที่เป็นเลนส์มุมกว้างจนถึงเป็นเลนส์ถ่ายไกล เพื่อให้สามารถถ่ายภาพทั่วไปได้เกือบทุกประเภท ถ้าอยากทราบว่ากล้องตัวใดสามารถซูมได้เท่าใดนั้นให้ดูจากเลนส์ของกล้องได้ เช่น 7-21 mm เป็นต้น ถ้าเปรียบเทียบกับกล้อง 35 มม. ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จะเห็นว่าเลนส์ของกล้องดิจิตอลจะมีขนาดเล็ก และความยาวโฟกัสน้อยกว่า ทั้งนี้เนื่องจากขนาดของฟิล์มในกล้อง 35มม มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวรับแสงในกล้องดิจิตอล เพื่อความสะดวก ผู้ผลิตมักนำเสนอข้อมูลทั้งสองส่วนคือความยาวโฟกัสของเลน์ที่ใช้จริงกับความยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากล้อง 35 มม เช่น กล้อง Nikon Coolpix 950, zoom lens 7-21mm (38-118mm, 35mm equivalent) แสดงว่าเลนส์ของกล้องนี้สามารถเป็นเลนส์มุมกว้างและเป็นเลนส์ถ่ายไกลได้เล็กน้อย (โดยปกติในกล้อง 35 มม เราจะจัดให้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสต่ำกว่า 50มม เป็นเลนส์มุมกว้างและมากกว่า 50 มม เป็นเลนส์ถ่ายไกล) ผู้ผลิตมักประชาสัมพันธ์ความสามารถในการซูมของกล้องโดยใช้ คำว่า 2X หรือ 3X ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกเพียงกว้างๆ เท่านั้น อย่างไรก็ดีก็เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการเปรียบเทียบ เช่นเราจะทราบได้ทันทีว่า กล้อง zoom 3x มีความสามารถในการซูมดีกว่า กล้อง zoom 2x ทั้งนี้มีสิ่งที่ควรระวังคือกล้องบางรุ่น จะมีความสามารถในการทำ digital zoom ได้ด้วย การทำ digital zoom ต่างจากการซูมที่เกิดจากการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ กล่าวคือ เป็น interpolation ด้วยการเพิ่มพิกเซลให้มากขึ้นจากการคำนวณ จึงทำให้ได้ภาพที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ทำให้ภาพมีความคมชัดลดลดง ดังนั้นการเลือกเลนส์ให้เปรียบเทียบที่ Optical Zoom เป็นหลัก
กล้องบางรุ่นได้เพิ่มความสามารถให้กับเลนส์โดยสามารถเป็นเลนส์ถ่ายใกล้ได้ด้วย ข้อนี้ก็เป็นข้อเด่นที่น่าจะพิจารณาเพิ่มเติม เช่น กล้อง nikon coolpix สามารถถ่ายได้ใกล้ถึง 1 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรพิจารณาถึงความสามารถในการปรับตัวเลขเอฟ (f number) หากกล้องมีตัวเลขเอฟหลายๆ ค่าจะทำให้ผู้ถ่ายสามารถเลือกใช้ความชัดลึกของภาพได้หลากหลายระดับกว่า รวมทั้งความสว่างของเลนส์ด้วย โดยพิจารณาจากตัวเลขเอฟที่น้อยที่สุด ขณะที่เขียนบทความนี้กล้อง Olympus รุ่น camdia 2040Z และ 3040Z ให้ความสว่างมากที่สุด คือ ที่ f1.8
3. การจัดเรียงตัวของเซลล์รับแสง
โดยส่วนใหญ่ CCD ของกล้องจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและจะจัดเรียงเป็นแบบตารางหมากรุกคือต่อกันในแนว 0 องศาในแนวนอน และ 90 องศาในแนวตั้ง จะมีแต่เพี่ยง Fuji Film ที่สร้าง CCD เป็นรูปแปดเหลี่ยม และเรียงตัวเป็นแนว 45 โดยที่ Fuji บอกไว้ว่ามีจุดเด่น 4 ข้อคือ
1. resolution สูงขึ้นเพราะระยะห่างระหว่างเซลล์ในแนวตั้งและแนวนอนลดลง ซึ่งสัมพันธ์กับการมองเห็นของมนุษย์
2. signal to noise ratio (s/n) ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
3. dynamic range ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
4. sensitivity ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
Fuji บอกว่า superCCD นี้สามารถเพิ่ม resolution มากขึ้น 60% หรือเป็น 1.6 เท่าของ CCD ทั่วๆ ไป โดย Fuji ได้วางตลาดกล้องที่ใช้ CCD แบบใหม่นี้ ไปเมื่อปี 1999 กับ รุ่น Finepix 4700Z และรุ่นต่อๆ มาที่มีเครื่องหมาย Supper CCD โดยมีจำนวนเซลล์รับแสงบน superCCD 2.4 ล้าน pixel แต่ภาพความละเอียดสูงสุดจะได้ถึง 4.3 Megapixel จากการ interpolation 

คำถามอยู่ที่ว่าแล้วคุณภาพของภาพดีหรือไม่เมื่อเทียบกับกล้อง 3 ล้านพิกเซลในตลาดที่มีราคาใกล้เคียงกัน การทดสอบและการเปรียบเทียบกล้องต่างๆ สามารถไปอ่านได้จาก website ที่ทดสอบกล้องโดยตรง ซึ่งทั้งหมดเห็นตรงกันว่าคุณภาพไม่ดีเหมือนที่ FUJI บอกไว้ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ super CCD เพราะเทคโนโลยีตัวนี้เป็นการนำเอา ลักษณะของการเห็นของคนเรามาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา กล่าวคือคนเราจะเห็นรายละเอียดในแนวนอนได้มากกว่าแนวตั้งเล็กน้อย และทั้งแนวนอนและแนวตั้งมากกว่าในแนวเฉียง Super CCD ก็อาศัยหลักการนี้ มาทำให้แต่ละเซลล์อยู่ใกล้กันในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดมากกว่าเดิม อันที่จริงแนวคิด นี้ไม่ใช่ไม่มีใครทำมาก่อน ในระบบการพิมพ์ ink jet เขาก็ทำให้ resolution ของเครื่องพิมพ์ในแนวนอนมากกว่าในแนวตั้ง เช่น 1440x720 dpi เป็นต้น แต่ Fuji เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับกล้องดิจิตอล แต่ปัญหาอยู่ที่ภาพที่บันทึกจาก supper CCD จะต้องถูกจัดเรียงใหม่เป็นแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งต้อง Interpolate อีกครั้ง ตรงนี้เองเลยทำให้คุณภาพที่ควรได้กลับต้องลดลงไปมากพอควร
4. ชนิดและการจัดเรียงฟิลเตอร์
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะใช้ฟิลเตอร์ RGB บังอยู่หน้าตัวรับแสง โดยเซลล์รับแสง 1 เซลล์จะมีฟิลเตอร์บังได้เพียงหนึ่งสีเท่านั้น นี่ย่อมแสดงว่าเมื่อถ่ายภาพแล้วแต่ละพิกเซลจะเก็บข้อมูลภาพมาเพียงสีใดสีหนึ่งเท่านั้น แต่ภาพที่เราได้ในแต่ละพิกเซลมีข้อมูลครบสามสี ข้อมูลภาพอีกสองสีที่เกิดขึ้นมาในพิกเซลไม่ใช่ข้อมูลจากภาพที่ถ่าย แต่เกิดจากการ interpolation ของซอฟแวร์ภาพในกล้อง การเรียงตัวของสีแต่ละสีว่ามีลำดับอย่างไรก็จะมีผลต่อคุณภาพด้านความคมชัด ความถูกต้องของสี การไม่มีสีเหลือบ กล้องส่วนใหญ่จะจัดเรียงฟิลเตอร์แบบ เบเยอร์ (Bayer) คือ RGBG อย่างไรก็ตามกล้องบางรุ่นโดยเฉพาะของ Canon ได้ใช้ฟิลเตอร์สี CMGY เช่น Cannon PowerShot G1, A5, Pro70 ข้อมูลเรื่องฟิลเตอร์นี้ผู้ผลิตมักไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายได้ใช้โครงสร้างของฟิลเตอร์ไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้ซื้อโดยทั่วไปมักไม่ได้ข้อมูลในส่วนนี้
5. ซอฟแวร์
ซอฟแวร์มีส่วนสำคัญไม่น้อยต่อคุณภาพของภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นการ interpolation การปรับสมดุลสีขาว (white balance) การลดสัญญาณรบกวน (noise reduction) การปรับความคมชัด (sharpness) ความอิ่มตัวตัวของสี (saturation) และอื่นๆ กล้องราคาถูกมักมีซอฟแวร์ที่ปรับทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองเกือบทั้งหมด ผู้ใช้งานไม่สามารถปรับได้นัก อย่างไรก็ดี กล้องที่มีคุณภาพสูงขึ้น ผู้ใช้สามารถปรับรายละเอียดการทำงานของซอฟแวร์ได้บ้างตามสภาพแสงและวัตถุที่ถ่าย กล้องแต่ละบริษัทก็จะใช้ซอฟแวร์ที่พัฒนามาสำหรับกล้องตัวนั้นๆ โดยเฉพาะ และซอฟแวร์ที่ใช้ในกล้องนี้เรียกว่า firmware ซึ่งบริษัทอาจมีการปรับปรุง firmware สำหรับเสริมให้คุณภาพและการทำงานของกล้องนั้นๆ ดีขึ้นเป็นระยะ ผู้ใช้ควรตรวจสอบกับ web site ของกล้องตอนเองว่ามีการปรับปรุง firmware หรือไม่อย่างไร

จากที่กล่าวมาทั้ง 5 ปัจจัยต่างก็มีผลต่อคุณภาพของภาพสุดท้ายที่ได้ ผู้ซื้อควรพิจารณาจากคุณภาพของภาพที่ได้เป็นสำคัญว่ากล้องนั้นๆ ให้คุณภาพเป็นที่น่าพึงพอใจหรือไม่ กล้องที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรืออยู่ในระดับเดียวกัน มักมีราคาไม่แตกต่างกันมาก

สมาชิกกลุ่ม

นายอานนท์ รอดพันธ์
นายอัครวุฒิ  สวัสดิ์ดีมงคล

นางสาวจิราพร กั้งซ่า
นางสาวศิริขวัญ เริกสนิท
นางสาวสุมาลิน ฉ้งเม้ง

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซด์ยอดนิยม


เว็บไซต์ประเทศไทย
อันดับที่1 sanook(http://www.sanook.com/)
 
อันดับที่2kapook(http://www.kapook.com/ ).
 
อันดับที่3mthai (http://www.mthai.com/)
 
อันดับที่4.manager(http://www.manager.co.th/)
 
อันดับที่5dek-d(http://www.dek-d.com%29555/)
 



เว็บไซต์ต่างประเทศ
1.http://www.wikipedia.org/
2.http://www.msn.com/
3.http://www.4share.com/
4.http://www.live.com/
5.http://www.blogger.com/

Pipeline

การ Pipeline คือ กระบวนการทำคำสั่งของ CPU ที่ทำหลายๆคำสั่งคาบเกี่ยวกัน (Overlap) โดยการแบ่ง CPU ออกเป็นส่วนย่อยๆ และแบ่งงานรับผิดชอบทำตามนั้นๆ

และการ Control Pipeline นั้นคือ การใช้ชุดคำสั่ง Control กับแต่ละกระบวนการ Pipeline

ซึ่ง pipeline แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
 1. Instruction Fetch - เรียกดูคำสั่งถัดไปเข้ามา
 2. Instruction Decode - ถอดความหมายของคำสั่ง

           สองอันแรก ไม่มีการควบคุพิเศษ เพราะทำเหมือนเดิมทุกรอบ

 3. Execute - กระทำคำสั่ง ควบคุมด้วย 
                RegDst บอกตำแหน่ง registry สำหรับ Write Register
                ALUOp และ ALUSrc (งง)
 4. Memory Access (Data Memory) -  ทำการนำคำสั่งมาเก็บ
                Branch -   branch equal 
                MemRead - load
                MemWrite - store

5. Write Back - นำผลออกมาบันทึก
                MemtoReg - บันทึกจาก Mem ไปยัง Reg เป้าหมาย

CPU


หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 
     หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) 
     หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit) 
     หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 
     คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล

โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์((COMPUTER SYSTEM STRUCTURES ))



เราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น 
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต
หรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว
(execute)การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรัหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้ว
หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ 
-หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมดให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง 
-หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์ เช่น AND OR นอกจากนี้ยังสามารถทำโอเปอร์ชั่นอื่นๆ อีก เช่น การเลื่อนบิต 
( shift ) หรือการทำคอมพลีเมนต์ ( complement ) เพื่อสลับค่าตัวเลขจากบวกเป็นลบ หรือจากลบเป็นบวก 
เช่น -5 หรือ +5 เป็นต้น สำหรับหน่วยควบคุมมีหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง 
อาศัยเทคโนโลยีก้าวหน้าในปัจจุบัน เราสามารถผลิตซีพียู ลงบนแผงวงจรรวมหรือไอซี (Integrated 
Circuit) ที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ และเราเรียกกันว่าไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ โปรเซสเซอร์ 
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์
ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์ 
(106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ ) เราอาจแบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 
- หน่วยความจำปฐมภูมิ เป็นหน่วยความจำที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรงมี 2 ชนิดคือ แบบที่ข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สูญหาย
แม้ไม่มีไฟฟ้าป้อน เป็นหน่วยความจำที่เรียกกันทั่วไปว่า รอม ( Read Only Memory : ROM ) ข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน
ถูกสร้างขึ้นในขณะที่สร้างหน่วยความจำจากโรงงาน ผู้ผลิต และไม่สามารถแก้ไขได้ (แต่ในปัจจุบันหน่วยความจำประเภทนี้ได้รับการพัฒนา
ให้สามารถบันทึกและลบข้อมูลภายในได้ แต่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษเฉพาะหน่วยความจำชนิดนี้ ได้แก่ programmeble ROM 
หรือ PROM และ erasable PROM หรือ EPROM ) ส่วนหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งคือ แรม ( Random
Access Momery , RAM ) ข้อมูลที่เก็บไว้จำเป็นต้องใช้กระแสไฟเพื่อรักษาข้อมูลให้คงอยู่ ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูล
ที่เก็บไว้ก็หายไปหมด 
-หน่วยความจำทุติยภูมิ หน่วยความจำประเภทนี้ เราจะไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล แต่เป็นส่วนหนึ่งของ
อุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตมากกว่า ตัวอย่างของหน่วยความจำ ประเภทนี้ได้แก่ ดิสก์ เทป เป็นต้น 
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาระบบปฏิบัติการ การจัดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์อาจแตกต่างจากที่เคย
พบมา เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้ 
1. ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือ คอมพิวเตอร์ 
2. ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์
รอบข้าง (peripheral) 
เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกับ แต่ลดความยุ่งยากลง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์
อินพุตจะรับข้อมูล หรือ รับคำสั่ง แล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมูลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการ
ทำงานของซีพียูบางครั้งซีพียูอาจส่งข้อมูลไปเก็บ เอาไว้ในหน่วยความจำทุติยภูมิ เช่น ดิสก์ ในลักษณะนี้ดิสก์จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เอาท์พุต
และในทำนองเดียวกัน ซีพียูอาจรับหรือต้องการข้อมูลมาจากดิสก์เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ดิสก์จะเป็นอุปกรณ์อินพุต นั่นคือ หน่วยความจำ
ทุติยภูมิสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุต และ เอาท์พุตการที่เราแยกหน่วยความจำปฐมภูมิกับหน่วยความจำทุติยภูมิออกกัน 
เนื่องจากว่าหน่วยความจำปฐมภูมินั้น ติดต่อกับซีพียูโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่สำหรับหน่วยความจำทุติยภูมิเป็น
อุปกรณ์ภายนอกแยกออกไป และ ข้อสำคัญก็คือ การติดต่อระหว่างอุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตและหน่วยความจำทุติยภูมิต้องมีการอุปกรณ์ช่วยเหลือ
การจัดการหน่วยความจำ
การจัดการหน่วยความจำเป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของ OS หน่วยความจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีด
ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
โปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีความสามารถมากมักต้องการหน่วยความจำปริมาณมากด้วย แต่หน่วยความจำเป็นทรัพยากร
ที่มีราคาแพง และในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหน่วยความจำมีขนาดจำกัด ทำให้เราไม่สามารถขยายขนาดหน่วยความจำได้มากตาม
ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ เราจึงยกงานการจัดการหน่วยความจำนี้ให้
เป็นหน้าที่ของ OS เช่น ตรวจดูว่าโปรแกรมใหม่จะถูกนำไปวางไว้ในหน่วยความจำที่ไหน? เมื่อใด? หน่วยความจำไหนควรถูก
ใช้ก่อนหรือหลัง? โปรแกรมไหนจะได้ใช้หน่วยความจำก่อน? 
การจัดการหน่วยความจำของ OS นั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ 
1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy) 
2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy) 
3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy) 

การจัดการโปรเซสเซอร์
โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี
โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์ช่วยงานคำนวณ (math-coprocessor ) และ
โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์
ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายามให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
(longterm scheduler)
การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ในบางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซส
และทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะพร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน" 
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับ
โปรเซสใหม่ได้

ระบบคอมพิวเตอร์


ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1.     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)2.    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ

    1. หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่งหน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบหน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3.    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    1. หน่วยความจำภายใน
- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
            2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ

    1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
    2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
    3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
                                                        
ขนาด 5.25 นิ้ว                                 ขนาด 1.44 MB
    หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ                1.  
ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
             2. ขนาด 3.5 นิ้ว            ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป

 Hard disk
Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
                        คุณสมบัติดังนี้
    • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
    • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
    • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
    • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
                                
3.    หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)

ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
  1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unixซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
        2.บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น