วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อ4 หน้า107





4.1
average waiting time = (0+6+8+9)/4= 5.75
turnaround time = 15


4.2

average waiting time = (7+3+0+1)/4= 2.75
turnaround time = 15


 average waiting time = (0+9+4+5)/4= 4.5
turnaround time = 15

4.3

การติดตั้ง OS ใน VMware (ubuntu)


1.เปิดโปรแกรม VMware Player คลิกที่ Create a New Virtual Machine


2.ถ้าลงโดยใช้แผ่น OS ให้เลือก Installer disc 
ถ้าลงโดยใช้ image file ให้เลือก Installer disc image file กดที่ปุ่ม Browse แล้วเลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ แล้วกดปุ่ม Next


3.ใส่ชื่อ-นามสกุล user name-password แล้วกดปุ่ม Next 


4.กดปุ่ม Next


5.กำหนดขนาด Harddisk แล้วกดปุ่ม Next


6.เข้าสู่หน้าต่างนี้ให้กด Finish


7.ก็จะเข้าสู่หน้าต่างนี้ ให้รอ


8.เมื่อเข้าสู่หน้าต่างนี้ก็ให้รอสักพัก


9.เมื่อเข้าสู่หน้าต่างนี้ ให้เลือกภาษาแล้วกดปุ่ม Continue


10.จากนั้นให้ใส่ password อีกครั้ง


11.จากนั้นก็รอ


12.รอแล้วรออีก


13.เมื่อโหลดก็จะเข้าสู้หน้าต่างนี้ ให้ใส่ Password ที่เราตั้งไว้


14.ก็จะเข้าสู่หน้าต่างของ OS เป็นอันติดตั้งเสร็จสิ้น





วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานะการทำงานของซีพียู



Process State  คือ  สถานะของ  Process  จะเป็นสถานะใดขึ้นอยู่กับการทำงานของ  Process   ในขณะนั้น ประกอบด้วย
1. New เป็นสถานะของกระบวนการใหม่ที่กำลังถูกสร้างขึ้นหรือกระบวนการเลือกมา จาก หน่วยความจำสำรอง (Disk) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้เรียกใช้ผ่าน Command  Interpreter แปลเป็นคำสั่งไปเรียกระบบปฏิบัติการให้ดึงข้อมูลหรือโปรแกรมมาตามคำสั่งของผู้ใช้เพื่อเข้ามาประมวลผลในระบบ เมื่อคำสั่งต่าง ๆ ถูกเรียกเข้ามา คำสั่งเหล่านั้นจะมาเข้าแถวรอในแถวงาน (Job Queue) เตรียมเปลี่ยนสถานะเพื่อทำงาน
2. Ready เป็นสถานะของกระบวนการที่เตรียมตัวเข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง  ในสถานะนี้จะเปลี่ยนมาจาก New หรือ Waiting หรือ Running ก็ได้ กระบวนการที่มาจาก New, Waiting หรือ Running จะเข้าแถวคอยเพื่อเข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแถวคอยนี้เราเรียกว่า(Ready Queue)
3. Running เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีเพียง 1 กระบวนการเท่านั้นที่อยู่ในสถานะนี้ของระบบ 1 ระบบ (มีเพียงกระบวนการเดียวเท่านั้นที่จะได้ใช้หน่วยประมวลผลกลางของแต่ละระบบ) เนื่องจากข้อจำกัดของประมวลผลกลางทำงานด้วยความเร็วสูงมาก จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการรอ
4.Terminate เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้รับการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือกระบวนการ มีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น มีการหารด้วยศูนย์ระบบจะหยุดการทำงานของกระบวนการนั้น แล้วแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Error)
5. Waiting เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแล้ว และมีการเรียกใช้อุปกรณ์รับ – ส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ว่าง หรือมีกระบวนการอื่นใช้อยู่ (เนื่องจาก CPU ทำงานเร็วกว่าอุปกรณ์รับ – ส่งข้อมูลมาก) กระบวนการเล่านั้นจะเปลี่ยนจาก Running มารอในสถานะนี้อาจมีกระบวนการหลายกระบวนการรออยู่ จึงมีการจัดคิวในการรอทรัพยากรต่าง ๆ เรียกว่า Device Queue หรือ Waiting Queue


เคล็ดลับ window การทำปุ่ม Shutdown Shortcut ไว้บนหน้า Desktop


1. ไปที่หน้า Desktop คลิกขวา > New > Shortcut จะมีหน้าต่างขึ้นมา
2. ที่ช่อง Type the location of the item: ให้พิมพ์ %windir%\System32\shutdown.exe -s -f -t 00
    ลงไปแล้วคลิก Next
 ความหมายของพารามิเตอร์ต่างๆ -s = Shutdown the Computer.
 -f = Forces running applications to close without warning.
 -t xx = Set timeout for restart to xx seconds.

3. ที่ช่อง Type a name for this shortcut: ให้พิมพ์ Shutdown My Computer (หรือชื่ออื่นก็ได้)
    ลงไปและคลิกปุ่ม Finish

4. จะได้ ไอคอน Shutdown My Computer ขึ้นมาที่หน้า Desktop  ถ้าใครต้องใครต้องเปลี่ยนตัวไอคอน
    ก็เปลี่ยนได้ตามชอบใจ โดยการคลิกขวาที่ไอคอน แล้วไปที่ properties

คำศัพท์ 16


First-come-first-served: FCFS 
          โปรเซสไหนเข้ามารอในคิวก่อนจะได้ครอบครองซีพียูก่อน ตามลำดับเวลาของการเข้ามาอยู่คิว
Round-robin :RR 
          ลักษณะของโปรเซสจะเป็นแบบมาก่อนได้ก่อนแต่ต่างกันตรงที่การครอบครองซีพียูของโปรเซสในสถานะ รันจะถูกจำกัดเวลาได้ด้วยระยะเวลาควอนตัมหรือเป็นแบบตัดตอนได้

Shortest job next :SJN 
          การคัดเลือกเอาโปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานน้อยที่สุดเข้ารันก่อนทำให้ โปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานน้อยจบออกไปได้เร็วขึ้น
Shortest remaining time : SRT 
          การคัดเลือกโปรเซสด้วยวิธีนี้คล้ายๆ กับชนิดงานสั้นที่สุดก่อน แต่วิธีนี้เป็นแบบตัดตอนได้ โดยจะเลือกเอาโปรเซสที่ “เหลือเวลาในการทำงานน้อยที่สุดเข้าไปครอบครองซีพียู ซึ่งทำให้โปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานนาน แต่ใกล้จะจบแล้วสามารถจบออกไปจากระบบได้เร็วขึ้น
Scheduling
          การเลือกงานหรือโปรเซสให้เข้ามาใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดซึ่งจะพิจารณาแต่ ทรัพยากรที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบในระดับหนึ่ง และในอีกระดับหนึ่งสำหรับทรัพยากรที่มีจำกัด คือ หน่วยประมวลกลางนั่นเอง

คำศัพท์ 15


  1. Extended Partition หรือ พาร์ติชั่นเสริม คือ เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้างพาร์ติชั่นเสริมจะเกิดพาร์ติชั่นตรรกะอัตโนมัติ
  2. Logical Partition หรือ พาร์ติชั่นตรรกะ คือ เป็นพาร์ติชั่นที่อยู่ภายใต้พาร์ติชั่นเสริมจะเกิดพาร์ติชั่นตรรกะได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างพาร์ติชั่นเสริมก่อนเท่านั้น
  3. Disk partition หรือ การแบ่งดิสก์ คือ ระบบปฎิบัติการจะแบ่งพื้นที่ของดิสก์ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า พาร์ติชั่น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรม
  4. High level format หรือ การจัดรูปแบบระดับสูง คือ การจัดรูปแบบทางตรรกะ(Logical format) เป็นการกำหนดระบบแฟ้มข้อมูล(File system)ให้แก่ดิสก์
  5. VFAT(Virtual File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์ FAT เวอร์ชั่นที่มีลักษณะเป็น Protected Mode ซึ่งจะถูกใช้โดย  Windows 9x

คำศัพท์ 14


capacity            : สมรรถนะ ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงปริมาณของสารสนเทศ
ซึ่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลสามารถประมวลผล
หรือเก็บไว้ได้ เช่น แผ่นดิสก์สามารถเก็บตัวอักษรได้จำนวนกี่ไบต์
นั่นเป็นสมรรถนะ (capacity) ของแผ่นดิสก์นั้น
Caps Lock key
            : แป้นคีย์บนแป้นพิมพ์ ซึ่งเมื่อกดแป้นนี้แล้ว
อักษรภาษาอังกฤษที่พิมพ์จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (capital letter)
เมื่อปล่อยก็จะกลับมาเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กตามปกติ
ส่วนแป้นพิมพ์ภาษาไทย เมื่อกดแป้นนี้จะเป้นตัวอักษรบน
carrier system            : ระบบการสื่อสาร เป็นวิธีการสื่อสารซึ่งใช้ความถี่ต่างๆกัน
เพื่อส่งผ่านหรือถ่ายทอดสารสนเทศไปตามช่องสัญญานการสื่อสารแต่ละช่อง
cartridge            : กล่อง, ตลับ มักใช้ กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น กล่องดิสก์ (disk cartridge)
กล่องหน่วยความจำ (memory cartridge) กล่องโทนเนอร์ (toner cartridge)
กล่องริบบอน (ribbon cartridge) เป็นต้น
circuit breaker            : สวิตช์ซึ่งทำไว้สำหรับปิด-เปิด เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า
เมื่อกระแสไฟฟ้ามีปริมาณมากเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้

คำศัพท์ 13


Pascal            ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง จัดเป็นภาษาที่บอกวิธีปฏิบัติอย่างย่อๆ เป็นภาษาโครงสร้างซึ่งพัฒนามาจากภาษา ALGOL นิคลอส เวอร์ธ (Niklaus Wirth) ได้พัฒนาภาษานี้ขึ้นระหว่าง พ.ศ.  2510-2511 เขาดัดแปลงให้มีโครงสร้างของภาษาที่ง่ายขึ้น พร้อมกับเพิ่มเติมแบบของข้อมูลและโครงสร้างเข้าไป แยกชนิดของข้อมูล แฟ้มข้อมูล และระเบียนต่างๆ ออกจากกัน
path            เส้นทางจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง ในทางการสื่อสาร path เป็นการต่อเชื่อมโยงระหว่าง node สองแห่ง; ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสาร path ได้แก่เส้นทางที่ผ่านแหล่งรวมของสารสนเทศ เช่น ในฐานข้อมูล ในโปรแกรม หรือในที่เก็บแฟ้มข้อมูลบนแผ่นดิสก์ เป็นต้น
PC-DOS            เป็นระบบการควบคุมการทำงานระบบหนึ่ง เป็น MS-DOS รุ่นหนึ่ง ซึ่งนำออกจำหน่ายโดย IBM; MS-DOS และ PC-DOS เป็นระบบการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ฝาแฝด ทั้งสองระบบเกือบไม่มีส่วนที่แตกต่างกันเลย
management information system            ระบบสารสนเทศการจัดการ เป็นระบบฐานคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลและการจัดการสารสนเทศ เพื่อให้บริการแก่การปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ภายในองค์กร ให้ถูกต้องและเหมาะสม และได้สารสนเทศที่ทันกำหนดเวลาและความต้องการ มักใช้คำย่อว่า MIS
manager            โดยทั่วไปหมายถึง โปรแกรมใดๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจัดการกิจกรรมภายในคอมพิวเตอร์ เช่น การควบคุมแฟ้มข้อมูล การเก็บรักษาแฟ้มข้อมูล เป็นต้น

คำศัพท์ 12


etwork control program            ในเครือข่ายการสื่อสารใดๆ และใน mainframe computer หมายถึงโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารของเครือข่ายของคอมพิวเตอร์นั้นๆ เช่น ควบคุมสายการสื่อสาร ควบคุมข้อผิดพลาดพกพร่องในการสื่อสาร และการตรวจสอบการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น
network operating system            ระบบควบคุมการปฏิบัติงาน ซึ่งบรรจุ (install) เข้าไว้ใน server ใดๆ ใน LAN สำหรับให้บริการต่างๆ แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ในเครือข่าย
NUL            อักษรรหัส ซึ่งมีค่าเท่ากับศูนย์ (0) หรือไม่มีอยู่จริง ไม่มีอะไรเลย อักษร NUL คือไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า
object-oriented            ใช้เป็นคำ adjective ขยายระบบใดๆ หรือภาษาใดๆ ซึ่งสนับสนุนการใช้ตัวแปรที่ประกอบด้วย ทั้งวิธีการปฏิบัติงานและข้อมูล ซึ่งรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า object (เป้า) ดูเพิ่มเติม object
online            มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่; สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์บังคับควบคุม

คำศัพท์ 11


Front Side Bus
          Front Side Bus หรือ ฟรอนต์ไซด์บัส คือช่องทางการสื่อสารข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมระหว่างโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำหลัก หรือแรม
Hacker
          Hacker หรือ แฮกเกอร์ คือ ผู้ที่ชื่นชอบในการเสาะค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และวิธีการที่จะใช้เครื่องให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารของเครื่อง  ผู้ที่ชอบสอดรู้สอดเห็นที่พยายามจะให้ได้มาซึ่งข้อมูล โดยการสอดแนมในที่ต่างๆ  ผู้ที่ชื่นชอบในการเรียนรู้ในรายละเอียดของการเขียนโปรแกรมและวิธีที่จะใช้มันให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารถ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ใช้ทั่วๆไปที่ต้องการเรียนเพียงที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น  ผู้โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความท้าทาย สถานะ หรือความตื่นเต้น ที่จะได้มาเมื่อประสบความสำเร็จ
Instant Messaging
          Instant Messaging หรือ IM หมายถึงโปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อความ, ตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์มัลติมีเดีย หรือคุยตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Instruction
          Instruction หรือ อินสตรักชั่น คือ คำสั่งที่สั่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้โปรเซสเซอร์ทำงานตามที่ต้องการ
Linux          Linux หรือ ลีนักซ์ คือระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส (Open source) หรือฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) คือมีอิสระในการใช้งาน, มีอิสระในการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภายใน และมีอิสระในการแจกจ่ายให้ผู้อื่นใช้ ภายใต้โอเพ่นซอร์สไลเซนส์

คำศัพท์ 10


LinuxSIS            ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux School or Small Office Internet Server) คือ ชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการของคนไทยที่ทำหน้าที่เป็น อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet / Intranet Server) ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้
Main FrameMainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)  ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
Malware            มัลแวร์ หรือโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Application; Malware) คือโปรแกรมที่ทำงานแบบไม่หวังดีกับระบบคอมพิวเตอร์ อันหมายรวมถึง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), โปรแกรมแอบดักข้อมูล (Spyware), โปรแกรมโฆษณา (Adware), Backdoor, Key Logger ฯลฯ เพิ่มเติมความหมายในรายละเอียดจะต่อให้ข้างหลัง
Memory            Memory หรือ หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์อิเลกโทนิคที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลบางส่วนซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด บางครั้งคำว่า “หน่วยความจำ” อาจใช้แทนคำว่า “แรม” (RAM; Random Access Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งได้
Microprocessor            Microprocessor หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ คือ คอมพิวเตอร์โปรเซสเซอร์บนไมโครชิพ มันเป็น “เอนจิ้น” ซึ่งจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ถูกออกแบบมาเพื่อการประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ซึ่งอาศัยตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า “รีจีสเตอร์” (Register) เป็นตัวเก็บนำส่งข้อมูลและเก็บผลลัพธ์เป็นการชั่วคราว

คำศัพท์ 9


Process control block: PCB
          ศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลสำคัญทั้งหลายของโปรเซสที่ระบบปฏิบัติการต้องการ
Program status words
          ตัวควบคุมลำดับขั้นการเอ็กซีคิ้วคำสั่งของโปรเซสและยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของโปรเซส
Priority 
          โปรเซสแต่ละตัวจะถูกกำหนดความสำคัญขึ้นขณะที่โปรเซสถูกสร้างขึ้น ความสำคัญนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่สุดแล้วแต่ระบบปฏิบัติการ
Authority 
          เป็นสิ่งที่บอกว่าโปรเซสนั้น ๆ สามารถทำอะไรได้บ้าง ใช้อุปกรณ์ชิ้นไหนได้บ้าง
Ready state 
          สถานะที่โปรเซสพร้อมที่จะใช้ซีพียูทันทีที่ระบบปฏิบัติการหมอบหมายให้ในสถานะนี้ไม่มีการรันของโปรเซส

คำศัพท์ 8


garbage in, garbage out: มักใช้เป็นคำย่อว่า GIGO เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงทางคอมพิวเตอร์
โดยอาศัยหลักตรรกะที่เป็นจริงว่า ถ้าข้อมูลที่ผิดๆ
ไม่ถูกต้องใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะผิดพลาดด้วย
gateway: เครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับต่อเชื่อมโยงเครือข่าย
ที่มีลักษณะแตกต่างกันเข้าด้วยกัน นั่นคือ gateway
สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายซึ่งใช้โปรโตโคล (protocol)
ในการสื่อสารแตกต่างกันเข้าด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งข่าวสาร (message)
สารสนเทศ (Information) และข้อมูล (data)
ผ่านจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้
glare filter: แผ่นโปร่งแสงสำหรับปิดหน้าจอภาพคอมพิวเตอร์
เพื่อลดความเข้มของแสงจากจอภาพลง
ป้องกันตาล้าเมื่อนั่งอยู่หน้าจอภาพนานๆ
graphic mode: ลักษณะการทำงานแบบกราฟิก ในคอมพิวเตอร์ PC
ของ IBM ได้แก่ ได้แก่การทำงานที่แสดงออกมาเป็นภาพ
เส้นและตัวอักษรบนจอภาพ graphic mode
สร้างภาพโดยวิธีใช้จุด pixel แต่ละจุดมาต่อเรียงกันเพื่อสร้างเป็นภาพ
half-duplex transmission: การสื่อสาร 2 ทาง ที่ผลัดกันถ่ายทอดข้อมูลคนละครั้ง
ไม่สามารถจะถ่ายทอดข้อมูลทั้งสองทางพร้อมๆ กันได้
เช่น ในการใช้วิทยุวอล์คกี้-ทอล์คกี้ หรือวิทยุสื่อสารของทหาร เป็นต้น
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด จะพูดโต้ตอบไม่ได้ รอจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งพูดเสร็จ
อีกฝ่ายหนึ่งจึงสามารถพูดตอบไปได้ เมื่อฝ่ายหนึ่งพูดอยู่ก่อน กดปุ่ม “เปลี่ยน”

คำศัพท์ 7


hyphenation program
: โปรแกรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคำสั่งเกี่ยวกับการแบ่งคำที่มีหลายพยางค์
โดยการขีดเส้นแบ่งคำ ระหว่างพยางค์ที่อยู่บรรทัดบน
และพยางค์ที่อยู่บรรทัดถัดไปโดยอัตโนมัติ กิจลักษณ์การแบ่งคำนี้
มักมีในภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย
i486: การเรียกไมโครโพรเซสเซอร์ชนิด 80486 ของ intel
ซึ่งผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ไมโครโพรเซสเซอร์ i486
เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิด 32 บิต
iconic interface
: การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ โดยการคลิกไอคอน
แทนที่จะใช้วิธีพิมพ์คำสั่งหรือวิธีอื่นใด
IEEE: อ่านว่า ไอทริเพิ่ลอี
เป็นคำย่อของคำว่า Institute of Electrical and Electronics Engineers
เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอีเล็กทรอนิกองค์กรหนึ่ง
ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระดับการเชื่อมโยงข้อมูล
ในเครือข่าย LAN มาตรฐานที่เรียกว่า IEEE 802
ต่อจากการพัฒนาแบบของ ISO Operating system Interconnection
impact printer
: เครื่องพิมพ์แบบกดตัวอักษรลงบนผ้าหมึก (ribbon)
เพื่อให้ตัวอักษรติดลงบนกระดาษ ได้แก่เครื่องพิมพ์
ที่เรียกว่า dot-matrix และ daisy-wheel printer เป็นต้น

คำศัพท์ 6


Pascal            ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง จัดเป็นภาษาที่บอกวิธีปฏิบัติอย่างย่อๆ เป็นภาษาโครงสร้างซึ่งพัฒนามาจากภาษา ALGOL นิคลอส เวอร์ธ (Niklaus Wirth) ได้พัฒนาภาษานี้ขึ้นระหว่าง พ.ศ.  2510-2511 เขาดัดแปลงให้มีโครงสร้างของภาษาที่ง่ายขึ้น พร้อมกับเพิ่มเติมแบบของข้อมูลและโครงสร้างเข้าไป แยกชนิดของข้อมูล แฟ้มข้อมูล และระเบียนต่างๆ ออกจากกัน
path            เส้นทางจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง ในทางการสื่อสาร path เป็นการต่อเชื่อมโยงระหว่าง node สองแห่ง; ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสาร path ได้แก่เส้นทางที่ผ่านแหล่งรวมของสารสนเทศ เช่น ในฐานข้อมูล ในโปรแกรม หรือในที่เก็บแฟ้มข้อมูลบนแผ่นดิสก์ เป็นต้น
PC-DOS            เป็นระบบการควบคุมการทำงานระบบหนึ่ง เป็น MS-DOS รุ่นหนึ่ง ซึ่งนำออกจำหน่ายโดย IBM; MS-DOS และ PC-DOS เป็นระบบการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ฝาแฝด ทั้งสองระบบเกือบไม่มีส่วนที่แตกต่างกันเลย
management information system            ระบบสารสนเทศการจัดการ เป็นระบบฐานคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลและการจัดการสารสนเทศ เพื่อให้บริการแก่การปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ภายในองค์กร ให้ถูกต้องและเหมาะสม และได้สารสนเทศที่ทันกำหนดเวลาและความต้องการ มักใช้คำย่อว่า MIS
manager            โดยทั่วไปหมายถึง โปรแกรมใดๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจัดการกิจกรรมภายในคอมพิวเตอร์ เช่น การควบคุมแฟ้มข้อมูล การเก็บรักษาแฟ้มข้อมูล เป็นต้น

คำศัพท์ 5


network control program            ในเครือข่ายการสื่อสารใดๆ และใน mainframe computer หมายถึงโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารของเครือข่ายของคอมพิวเตอร์นั้นๆ เช่น ควบคุมสายการสื่อสาร ควบคุมข้อผิดพลาดพกพร่องในการสื่อสาร และการตรวจสอบการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น
network operating system            ระบบควบคุมการปฏิบัติงาน ซึ่งบรรจุ (install) เข้าไว้ใน server ใดๆ ใน LAN สำหรับให้บริการต่างๆ แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ในเครือข่าย
NUL            อักษรรหัส ซึ่งมีค่าเท่ากับศูนย์ (0) หรือไม่มีอยู่จริง ไม่มีอะไรเลย อักษร NUL คือไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า
object-oriented            ใช้เป็นคำ adjective ขยายระบบใดๆ หรือภาษาใดๆ ซึ่งสนับสนุนการใช้ตัวแปรที่ประกอบด้วย ทั้งวิธีการปฏิบัติงานและข้อมูล ซึ่งรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า object (เป้า) ดูเพิ่มเติม object
online            มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่; สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์บังคับควบคุมได้

คำศัพท์ 4


1.COBOL
COBOL (Common Business Oriented Language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงแรกที่ใช้อย่างกว้างขวางสำหรับการประยุกต์ทางธุรกิจ โปรแกรมเงินเดือน บัญชี และโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจอื่นที่เขียนด้วย COBOL มากว่า 25 ปียังคงใช้อยู่และมีบรรทัดคำสั่งใน COBOL มากกว่าภ่าษาโปรแกรมอื่น ขณะที่ภาษานี้ได้ปรับปรุงในช่วงใกล้ๆนี้ แต่โดยทั่วไปเข้าใจว่าล้าสมัยและโปรแกรม COBOL ได้รับมุมมองเป็นโปรแกรมประยุกต์ legacy
2.CPU
CPU (Central processing unit) เป็นคำเก่าของตัวประมวลผลและไมโครโพรเซสเซอร์ โดยหน่วยประมวลผลกลางในคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรตรรกะ เพื่อประมวลผลคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.Cyberspace
Cyberspace เป็นการติดต่อภายในทั้งหมดของคนที่แสดงผ่านคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม โดยปราศจากขอบเขตทางกายภาคด้านภูมิศาสตร์
4.compiler
compiler เป็นโปรแกรมเฉพาะที่ประมวลผลคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมเฉพาะให้เป็นภาษาเครื่อง หรือ code ที่โพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์ใช้ โดยปกติผู้เขียนโปรแกรมใช้ editor ในการเขียนคำสั่งของภาษาโปรแกรม ไฟล์ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสิ่งที่เรียกว่า statement แล้วนำไปประมวลผล ด้วย compiler ของภาษานั้น
5.DirectX
DirectX เป็นโปรแกรมประยุกต์แบบอินเตอร์เฟซสำหรับการสร้าง จัดการภาพและมัลติมีเดียเอฟเฟค เช่น การเล่นเกมส์ หรือเว็บเพจแบบ active web page ซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 โปรแกรม DirectX เป็นโปรแกรมที่ติดมากับ Microsoft Internet Explorer 4.0

คำศัพท์ 3


Nonvolatile Memory            Nonvolatile Memory หรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย
Open-Source            “Open-Source” หรือ “โอเพ่นซอร์ส” คือคำที่ใช้แทนคำว่า ฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) หรือซอฟต์แวร์เสรี ที่ให้เสรีภาพแก่ผู้บริโภคในการรัน, แก้ไขปรับปรุง และเผยแพร่โปรแกรม ไม่ว่าจะโดยการจำหน่ายหรือให้ฟรีก็ตาม แต่ที่สำคัญคือต้องแถมซอร์สโค้ด (Source Code) ไปด้วย
Peripheral            Peripheral หรือ เพอริเฟอรัล คือคำที่ใช้เรียกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดๆที่ไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (โปรเซสเซอร์, เมมโมรี และเมนบอร์ด) แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพอริเฟอรัลอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต (Input/output (I/O) Device) ซึ่งบางตัวจะเชื่อมอยู่กับเมนบอร์ดภายในเคสคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอม และการ์ดแลน ขณะที่อื่นๆจะอยู่นอกเคสฯ เช่น พรินเตอร์และสแกนเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลหรือไร้สายก็ตาม
Phishing            พฤติกรรมการหลอกลวงผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัว ด้วยการอ่อยเหยื่อออนไลน์ จนเป็นที่มาของคำว่า phishing โดยเลียนคำว่า fishing ที่หมายถึง การตกปลา
PROM            Programmable Read-Only Memory หรือ PROM หรือ พีรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ 1 ครั้ง 

คำศัพท์ 2


machin code
หมายถึง : รหัสเครื่อง บางทีเรียกว่า machine language เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ภาษาระดับสูงที่จะใช้สั่งคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องใช้ภาษาที่เรียกว่า compiler แปลให้เป็นภาษาเครื่อง หรือรหัสเครื่องก่อน
machin language
หมายถึง : ดู machine code
macro
หมายถึง : ในโปรแกรมปฏิบัติการ เป็นกิจลักษณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยการกดแป้นคีเป็นชุดและบันทึกคำสั่งซึ่งเก็บรักษา (save) ไว้ภายใต้รหัสความย่อ (short key code) เมื่อผู้ใช้กดแป้นรหัสไขความย่อ โปรแกรมจะนำคำสั่ง แมคโครออกมา ผู้ใช้สร้างคำสั่งแมคโครขึ้นมาเพื่อประหยัดเวลาในการกดแป้นซ้ำๆ บ่อยๆ
magnetic disk
หมายถึง : แผ่นดิสก์โดยทั่วไปเป็นแผ่นที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก เพื่อให้สามารถเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ได้
magnetic field
หมายถึง : สนามแม่เหล็ก บริเวณรอบๆ แม่เหล็ก และมีแรงดึงดูดอันเกิดจากแม่เหล็กนั้น

คำศัพท์ 1


Multiprocessingการทำงาน (mode) วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นการประมวลผลหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ในการประมวลผลแบบ multiprocessing นี้ กระบวนการประมวลผลแต่ละกระบวนการ จะใช้ชุดคำสั่งแต่ละชุดที่แตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการประมวลผลมากขึ้น
Multiplexingเทคนิคอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อสารและในการทำงานของ input/output เพื่อการถ่ายทอดสัญญาณต่างๆ หลายชนิด ผ่านช่องสัญญาณ หรือสาย การสื่อสารไปพร้อมๆกันในสายเดียว เทคนิคของ multiplexing สามารถแยกความแตกต่างของสัญญาณต่างๆ เช่น แยกเวลา แยกพื้นที่ และแยกความถี่ของสัญญาณแต่ละชนิดออกจากกัน
Multitaskingการทำงาน (mode) วิธีหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวสามารถปฏิบัติงานได้หลายๆงานพร้อมๆกัน ตัวอย่าง การทำงานแบบ multitasking เช่น context switching ได้แก่ การนำเอาโปรแกรมปฏิบัติการ (application software) มาบรรจุไว้ในหน่วยความจำในเวลาเดียวกันหลายโปรแกรม แต่จะใช้โปรแกรม foreground ทำงาน เมื่อจะใช้โปรแกรม background ผู้ใช้ก็จะเปลี่ยนเอาโปรแกรม background ขึ้นมาไว้เป็น foreground และโปรแกรม foreground กลับไปเป็น blackground โดยพลัดเปลี่ยนกันทำงาน เป็นต้น
Multiuser systemระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้ (user) หลายๆ คน สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์จากสถานีปลายสาย (terminal) ซึ่งอยู่ในที่ต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกันได้
Modular programmingได้แก่สิ่งที่มีลักษณะคล้ายโปแกรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะถูกทำให้แตกออกเป็นส่วนย่อยๆ หลายส่วน แต่ละส่วนเป็นอิสระแก่กัน ส่วนที่เป็นอิสระเหล่านี้ จะส่งที่มันมีอยู่ออกมา สิ่งที่แต่ละโมดูลมีอยู่เหล่านี้ ได้แก่ตัวคงที่ (constant) ชนิดของข้อมูล (data type) ตัวแปร (variable) การทำหน้าที่ (function) และวิธีการทำงาน (procedure) เป็นต้น

ข้อ13 หน้า111



13.1 ระบบนี้อยู่ในสถานะปลอดภัย โดยมีค่าเมตริกซ์ Available หลังจากที่โปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อยเป็นดังนี้

ทรัพยากรที่ถูกจัดสรร เพียงพอกับจำนวนทรัพยากรมากที่สุดที่โปรเซสต้องการใช้ ถ้าระบบจัดสรรทรัพยากรให้แต่ละโปรเซสโดยเรียงลำดับการจัดสรรตามลำดับความปลอดภัยที่ได้แบบนี้ จะทำให้ระบบอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย

13.2 ลำดับความปลอดภัยของระบบคือ P1,P3,P4,P5,P2

13.3 ได้ เพราะ P3 ขอใช้ทรัพยากรเป็นจำนวน (1,1,1,1) แต่ P3 มีทรัพยากรที่ถูกจัดสรร (1,3,5,4) ฉะนั้นมีทรัพยากรที่ถูกจัดสรรเพียงพอกับทรัพยากรที่ต้องการใช้

13.4 ได้ เพราะ P2 ขอใช้ทรัพยากรเป็นจำนวน (0,4,2,0) ถึงแม้ว่า P2 จะมีทรัพยากรที่ถูกจัดสรรเพียง (1,0,0,0) แต่ว่ามีค่าว่างหรือค่า Available เป็นจำนวน (1,5,3,2) ฉะนั้น P2 มีทรัพยากรเพียงพอกับทรัพยากรที่ต้องการใช้

13.5 ค่า Available หลังจากที่แต่ละโปรเซสทำงานในข้อ 13.3 เสร็จเรียบร้อย คือ R1=2 , R2=8 , R3=8 , R4=6

ข้อ12 หน้า110


ลำดับความปลอดภัยคือ P2,P4,P1,P3
แสดงค่าเมตริกซ์ Available หลังจากที่โปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย

ข้อ3 หน้า107

กำหนดการใช้ซีพียู โดยใช้อัลกอริธึมที่กำหนดต่อไปนี้ แต่ละอัลกอริธึมมีปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

1.มาก่อนบริการก่อน(FCFS : First-come First-served Scheduling)


เป็นอัลกอริทึมที่ง่ายที่สุด โดยจะกำหนดให้โปรเซสที่ร้องขอซีพียูก่อน เป็นโปรเซสที่ได้รับซีพียูก่อน เมื่อมีโปรเซสที่อยู่ในสถานะพร้อมที่จะทำงาน โปรเซสนั้นจะถูกนำเข้าไปต่อท้ายคิวพร้อม เมื่อซีพียูว่าง ระบบปฏิบัติการจะเรียกกำหนดการซีพียู เพื่อให้พิจารณามอบซีพียูให้แก่โปรเซสที่อยู่ต้นคิวของคิวพร้อม

ปัญหาที่อาจะเกิดขึ้น
Convoy effect : การทำงานของอัลกอริทึมนี้ดูเหมือนเป็นการยุติธรรมที่ให้สิทธิการเข้าใช้ซีพียู แก่โปรเซสที่เข้ามาอยู่ในคิวพร้อมก่อน แต่ในกรณีที่ในคิวพร้อมของระบบมีทั้งโปรเซสที่เน้นซีพียู และโปรเซสที่เน้น I/O จะพบว่า โปรเซสที่เน้น I/O จะต้องเสียเวลารอนานมาก เพื่อเข้าใช้งานซีพียูในระยะเวลาที่ไม่นานมากนัก ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา Convoy effect คือ เหตุการณ์ที่โปรเซสขนาดเล็กในระบบ จะต้องเสียเวลารอโปรเซสขนาดใหญ่ที่ครอบครองซีพียูเป็นเวลานานการทำงานของอัลกอริทึมนี้ เป็นการทำงานที่ไม่สามารถขัดจังหวะ หรือแทรกกลางคันได้ (Non-Preemptive process)  ซึ่งจะไม่เหมาะกับระบบที่ต้องมี

การแบ่งส่วนการทำงาน ให้งานแต่ละงานได้ใช้ซีพียูอย่างทั่วถึง

ตัวอย่าง ให้พิจารณาระบบที่ประกอบไปด้วย 3 โปรเซสที่ถูกรับเข้ามาในระบบ เรียงตามลำดับ คือ P1, P2 และ P3 โดยที่แต่ละโปรเซสต้องการใช้ซีพียูเป็นเวลาตามที่กำหนด ให้หาค่าเฉลี่ยของเวลารอ เมื่อกำหนดให้ใช้อัลกอริทึมแบบมาก่อนบริการก่อน


การรอของแต่ละโปรเซส สามารถแสดงได้ด้วย Gantt Chart ดังนี้

• P1เข้ามาในระบบและได้รับการจัดสรรให้ใช้ซีพียูทันที จึงไม่ต้องเสียเวลาในการรอซีพียู ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 0 หน่วยเวลา 
• P2ต้องรอจนกว่า P1ทำงานเสร็จเรียบร้อยและคืนซีพียูให้กับระบบ ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 24 หน่วยเวลา
• P3ต้องรอจนกว่า P2ทำงานเสร็จเรียบร้อยและคืนซีพียูให้กับระบบ ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 27 หน่วยเวลา
• ดังนั้นค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอซีพียู คือ (0+24+27)/3 = 17 หน่วยเวลา

2.งานสั้นทำก่อน (Shortest-Job First Scheduling : SJF)

อัลกอริทึมของงานสั้นทำก่อน จะพยายามลดค่าเฉลี่ยของเวลาครบวงงาน และค่าเฉลี่ยของเวลารอ โดยกำหนดให้โปรเซสที่ต้องการใช้ซีพียูเป็นระยะเวลาน้อยได้เข้าใช้ซีพียูก่อนโปรเซสที่ต้องการใช้ซีพียูเป็นระยะเวลานาน

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ข้อมูลในด้านเวลาที่จะต้องใช้ทำงานของแต่ละกระบวนการ สำหรับการจัดตารางการทำงานในระยะยาว ในระบบการทำงานแบบกลุ่ม เราสามารถใช้ข้อจำกัดเวลาที่ผู้ใช้บอกเป็นเกณฑ์ได้ ซึ่งผู้ใช้ก็จะถูกบังคับโดยอัตโนมัติ ให้ประมาณการข้อจำกัดเวลานี้ อย่างใกล้เคียงที่สุด เพราะยิ่งสั้นยิ่งมีโอกาสเข้าทำงานก่อน (แต่ถ้าสั้นเกินไป ระบบจะแจ้งข้อผิดพลาด ใช้เวลาเกินข้อจำกัดซึ่งผู้ใช้ต้องวนกลับไปเริ่มส่งงานมาใหม่) โดยปกติแล้วจึงนิยมใช้ SJF ในการจัดตารางการทำงานในระยะยาว
แม้ว่า SJF จะดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้กับการจัดตารางการทำงานในระยะสั้น เพราะเราไม่มีทางรู้เวลาที่แต่ละกระบวนการ จะต้องทำงานจริง ๆ ทางออกก็คือ พยายามประมาณวิธี SJF โดยการพยากรณ์ค่าว่าเวลาที่กระบวนการจะต้องทำงานจากค่าในอดีต แล้วจัดตารางการทำงาน ด้วยค่าพยากรณ์นี้แทน
วิธี SJF นี้อาจทำเป็นแบบให้แทรกกลางคัน (preemptive) หรือ ห้ามแทรกกลางคัน (nonpreemptive) ก็ได้ เมื่อกระบวนการใหม่เข้ามาในแถวคอย ขณะที่กระบวนการหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ถ้ากระบวนการใหม่มีเวลาที่จะต้องทำงานสั้นกว่า เวลาที่เหลือ ของกระบวนการที่กำลังทำงาน 

ตัวอย่าง พิจารณาระบบที่ประกอบด้วยโปรเซส P1, P2, P3 และ P4โดยที่ทุกโปรเซสถูกรับเข้ามาในะบบพร้อมกัน




จาก Gantt Chart จะเห็นว่า
• โปรเซส P1ต้องรอเป็นเวลา 3 หน่วยเวลา 
• โปรเซส P2ต้องรอเป็นเวลา 16 หน่วยเวลา
• โปรเซส P3ต้องรอเป็นเวลา 9 หน่วยเวลา
• โปรเซส P4ต้องรอเป็นเวลา 0 หน่วยเวลา
• ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอ คือ (3+16+9+0)/4 = 7 หน่วยเวลา

3.ลำดับความสำคัญ (Priority Scheduling)

เป็นวิธีจัดลำดับการใช้ซีพียูโดยกำหนดลำดับความสำคัญให้แต่ละโปรเซส โดยระบบจะต้องกำหนดว่า 
• ให้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญน้อยที่สุด
• ให้ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญมากที่สุด หรือ
• ให้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญมากที่สุด
• ให้ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญน้อยที่สุด

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
กรณีที่อัลกอริทึมทำงานแบบ Preemptive จะทำให้เกิดปัญหาสำคัญ คือ การอดตาย (Starvation) คือ โปรเซสที่มีลำดับความสำคัญต่ำกว่า ถูกโปรเซสที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าแย่งซีพียูไปใช้งาน ทำให้โปรเซสที่มีลำดับความสำคัญต่ำไม่มีโอกาสเข้าไปใช้ซีพียู 

วิธีการแก้ปัญหา การอดตาย สามารถทำได้โดยการทำ Aging คือ การกำหนดให้มีการเพิ่มค่าของลำดับความสำคัญของทุกโปรเซสในระบบเป็นระยะ


ตัวอย่าง 

เมื่อกำหนดให้ ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุดมีลำดับความสำคัญสูงที่สุด การจัดลำดับ
ของซีพียูจะเป็นไปตามลำดับค่าความสำคัญ คือ P
2
, P
5
, P
1
, P
3
, P
4

การจัดลำดับของซีพียูจะเป็นไปตามลำดับค่าความสำคัญ คือ P2, P5, P1, P3, P4

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอ คือ (13+0+19+26+8)/5  เท่ากับ 13.2 หน่วยเวลา




4.วิธีวนรอบ (Round-Robin Scheduling : RR)

อัลกอริทึมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ส าหรับระบบแบ่งเวลา โดยมีการทำงานเหมือนอัลกอริทึมแบบมาก่อนบริการก่อน แต่กำหนดให้โปรเซสใช้ซีพียูในเวลาที่จำกัด เรียกว่า เวลาควอนตัม (Quantum time)  หรือ การแบ่งเวลา 

ตัวอย่าง ระบบคอมพิวเตอร์มีโปรเซสทั้งหมด 3 โปรเซส แต่ละโปรเซสมีเวลาเข้าระบบ และเวลาที่ต้องการใช้ซีพียู ดังนี้
โปรเซส P1 เข้าระบบเมื่อเวลา 0.0 และต้องการใช้ซีพียู 8 หน่วยเวลา
โปรเซส P2 เข้าระบบเมื่อเวลา 0.4 และต้องการใช้ซีพียู 4 หน่วยเวลา
โปรเซส P3 เข้าระบบเมื่อเวลา 1.0 และต้องการใช้ซีพียู 1 หน่วยเวลา
เมื่อกำหนดให้ใช้การจัดลำดับใช้งานซีพียูแบบวนรอบ ที่มีเวลาควอนตัมเท่ากับ 2.0 หน่วยเวลา ให้แสดงวิธีทำเพื่อคำนวณหาเวลาครบวงงานเฉลี่ย



Thank you